แม่บ้าน/พี่เลี้ยงเด็ก/ดูแลผู้สูงอายุ/พยาบาลเฝ้าไข้

บริการ-จัดส่ง พนักงาน แม่บ้าน อายุตั้งแต่ 20-45 ปี

บริการ-พี่เลี้ยงเด็ก แรกเกิด-เด็กโต โดยพนักงานที่มีประสบการณ์และผ่านการอบรมจาก พยาบาลวิชาชีพ

บริการ-ดูแลผู้สูงอายุ อยู่เป็นเพื่อน คนชรา อาบน้ำเช็ดตัว จัดยาหาอาหาร พยุงเข้าห้องน้ำ ทำกายภาพบำบัด ให้อาหารทางสายยาง ดูดเสมหะ อัมพฤกษ์ อัมพาต ด้วยพนักงานที่มีประสบการณ์มากกว่า 7 ปี

ไม่มีพนักงานเปลี่ยนภายใน 3 วัน ยินดีคืนเงิน บริการ 24 ช.ม. มีทั้งหมด 3 สาขา จดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด ทะเบียนเลขที่ 0108134705023 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2547



สนใจติดต่อได้ที่ 02-4823868 สายด่วน 086-4050017 (ตลอด 24 ช.ม)

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ความเครียดในผู้เฝ้าไข้

ผู้ดูแลผู้สูงอายุทำหน้าที่อะไรบ้าง?
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ บางที จะเป็นญาติใกล้ชิดผู้ป่วย หรือ เป็นผู้ช่วยพยาบาล หรือพนักงานเฝ้าไข้ ซึ่งจะมีหน้าที่ เฝ้าไข้ คอยดูแลอยู่กับผู้ป่วย คอยปรนนิบัติ ดูแลพยาบาลในกิจวัตรประจำวันพื้นฐานต่างๆของผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ ที่มีโรคประจำตัว หรือโรคเรื้อรังต่างๆ อาทิเช่นโรคมะเร็ง อัมพฤกษ์ อัมพาต อ่อนแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ หรืออ่อนแรงของร่างกายครึ่งซีก โรคเบาหวาน สมองเสื่อม หลงลืม หรือ อัลไซเมอร์
หน้าที่หลักๆของผู้ช่วยพยาบาลดูแลผู้สูงอายุ มีดังนี้:
•   ยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
•   พลิกตัวผู้ป่วย
•   อาบน้ำ ดูแลความสะอาดของร่างกาย
•   ช่วยแต่งตัวให้ผู้ป่วย และดูแลความสะอาดเครื่องแต่งกาย
•   ป้อนอาหาร หรือให้อาหารทางสายยาง กับผู้ป่วย
•   เตรียมอาหาร ปรุงอาหารให้กับผู้ป่วย
•   ช่วยเป็นธุระจัดซื้อของ หากผู้ป่วยต้องการซื้อหาข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ
•   ช่วยผู้ป่วยนำเงินไปชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วย
•   เป็นธุระ หรือช่วยผู้ป่วย,ผู้สูงอายุ ปฏิบัติภาระกิจต่างๆ
•   จัดเตรียม และให้ยากับผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ
•   อยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ
•   ให้กำลังใจ และทำให้ผู้ป่วยเบิกบาน
 
                   ผู้ช่วยพยาบาล หรือผู้ดูแลผู้ป่วย จะมีหน้าที่ดูแลกิจวัตรประจำวันต่างๆให้ผู้ป่วย

ทำไมงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุ, ผู้ช่วยพยาบาลเป็นงานที่หนัก?

ผู้ป่วย หรือผู้สูงวัยเป้นผู้ที่เจ็บป่วย จะไม่ค่อยรับรู้ในสิ่งต่างๆ ดังนั้นท่านเหล่านี้หลายครั้งไม่ค่อยร่วมมือในการดูแลรักษา ทำให้ยากแก่การปรนนิบัตร ในหลายโอกาส ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุนี้ อาจจะมีบุคคลิกภาพที่แปรเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนก่อนที่จะเจ็บป่วย โดยเฉพาะหากผู้ป่วยท่านนั้นป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม ทำให้ญาติที่ดูแลผู้ป่วยบางครั้งรู้สึกตึงเครียดไปกับความเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย

บางครั้งผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุที่เราดูแล อาจจะมีอารมณ์แปรปรวน หรือก้าวร้าวได้ บางครั้งอาจตะโกน ด่าทอ หรือทำร้ายผู้ดูแล ทำให้ผู้แลเกิดความเครียด

อาการที่แสดงว่าผู้เฝ้าไข้เกิดความเครียดจากงาน

Common signs of caregiver stress include the following:
•   หงุดหงิดง่าย ดูไม่มีความสุข หรือเบื่อหน่ายกับชีวิต
•   ร้องไห้เก่งขึ้น
•   ขาดความกระตือรือร้น ไม่ค่อยมีพลังหรือแรงกระตุ้นในการทำงาน
•   รู้สึกไม่มีเวลาให้กับตนเองพอ
•   นอนหลับยากขึ้น และพอต่นขึ้นก็ไม่อยากลุกออกจากเตียง
•   มีปัญหาด้านการทาน อาจทานมาก หรือน้อยกว่าปกติที่เคยเป็น
•   ไม่ค่อยออกไปเจอญาติมิตร เพื่อนฝูง
•   ไม่ค่อยสนใจในงานอดิเรก หรือกิจกรรมที่ตนเองเคยสนใจทำ หรือเข้าร่วม
•   รู้สึกโกรธผู้ที่เราดูแล, คนหรือสภาวะการณ์ รอบข้าง
นอกจากนี้แล้ว งานของผู้ช่วยพยาบาลเป็นงานที่หนัก และในหลายครั้งผู้ช่วยพยาบาลก็อาจจะไม่ได้รับคำขอบคุณ หรือชมเชยจากผู้ป่วย หรือคนรอบข้าง ทำให้ขาดกำลังใจได้

                                ผู้ดูแลผู้ป่วย หรือผู้ช่วยพยาบาล ต้องดูแลรักษาตนเองให้ดี
                                       จะได้มีพลัง หรือมีกำลังใจ ไปดูแลผู้อื่นได้อย่างดี


ข้อพึงปฏิบัติหากทราบว่าเรามีความเครียดจากงาน หรือการเฝ้าไข้

จริงๆแล้วความรู้สึกเครียดกับงานเฝ้าไข้นี้สามารถเกิดได้ เพราะงานเฝ้าไข้ หรืองานดูแลผู้ป่วยเป็นงานที่สามารถก่อให้เกิดความเครียดได้ง่าย ซึ่งหากท่านไม่ลองมาทำงานนี้เอง ก็จะไม่ทราบว่างานเฝ้าไข้ หรือดูแลผู้ป่วยนี้เป็นงานที่ต้องเสียสละและอดทนอย่างสูง หากเราไม่ดูแลรักษาตัวเราให้ดี เราก็ไม่สามารถมีกำลังกาย กำลังใจที่จะไปดูแลผู้อื่นได้

ดังนั้นหากท่านมีความเครียดที่เกิดจากงานเฝ้าไข้ หรือดูแลผู้ป่วยนี้ ท่านน่าจะไปปรึกษากับแพทย์, ญาติมิตร หรือเพื่อนฝูงที่ท่านไว้ใจ และขอความช่วยเหลือให้มาช่วยท่านผ่อนเบาภาระการดูแลผู้ป่วยบ้าง และอย่ารู้สึกไม่ดีหรือรู้สึกว่าตนเองไร้ความสามารถ ที่ท่านต้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น

นอกจากนี้แล้วท่านอาจจะลองสำรวจว่าแถวชุมชนของท่านมีโครงการ หรือบริการใดๆ ที่จัดเตรียมไว้สำหรับบริการผู้สูงอายุในรูปแบบใด ที่ท่านและผู้สูงอายุจะมาร่วมใช้บริการได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น