แม่บ้าน/พี่เลี้ยงเด็ก/ดูแลผู้สูงอายุ/พยาบาลเฝ้าไข้

บริการ-จัดส่ง พนักงาน แม่บ้าน อายุตั้งแต่ 20-45 ปี

บริการ-พี่เลี้ยงเด็ก แรกเกิด-เด็กโต โดยพนักงานที่มีประสบการณ์และผ่านการอบรมจาก พยาบาลวิชาชีพ

บริการ-ดูแลผู้สูงอายุ อยู่เป็นเพื่อน คนชรา อาบน้ำเช็ดตัว จัดยาหาอาหาร พยุงเข้าห้องน้ำ ทำกายภาพบำบัด ให้อาหารทางสายยาง ดูดเสมหะ อัมพฤกษ์ อัมพาต ด้วยพนักงานที่มีประสบการณ์มากกว่า 7 ปี

ไม่มีพนักงานเปลี่ยนภายใน 3 วัน ยินดีคืนเงิน บริการ 24 ช.ม. มีทั้งหมด 3 สาขา จดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด ทะเบียนเลขที่ 0108134705023 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2547



สนใจติดต่อได้ที่ 02-4823868 สายด่วน 086-4050017 (ตลอด 24 ช.ม)

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

แผลกดทับ

แผลกดทับ (Bedsores, Pressure Sores)

แผลกดทับ เกิดจากการที่มีการกดทับบริเวณผิวหนังเป็นเวลานาน ทำให้เลือดไปเลี้ยงผิวหนังลดลงและเกิดการตายของเซลล์และเนื้อเยื่อ มักเกิดในผู้ป่วยที่ไม่ค่อยรู้สึกตัว ช่วยตนเองหรือเคลื่อนไหวไม่ได้

การดำเนินโรค
เมื่อผิวหนังบริเวณที่ถูกกดทับ ขาดเลือดไปเลี้ยงได้ราวๆ 2-3 ชั่วโมง ผิวหนังบริเวณนั้นจะเริ่มตาย เจ็บ เปลี่ยนเป็นสีแดงหรือม่วง ซึ่งหากทิ้งไว้ไม่รักษา จะเกิดเป็นแผล และติดเชื้อได้ แผลกดทับที่เป็นมาก อาจกินลึกไปได้ถึงชั้นกล้ามเนื้อ ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการรักษานาน

                          ภาพแสดงลักษณะผิวหนังปกติ(ซ้าย)   และผิวหนังที่เกิดแผลกดทับ(ขวา)

ตำแหน่งที่เกิดแผลกดทับ

ที่พบได้บ่อยคือส่วนของร่างกายที่ไม่ค่อยมีไขมัน หรือบริเวณเนื้อเยื่อที่อยู่เหนือปุ่มกระดูกเช่น บริเวณก้นกบ ด้านข้างของสะโพก ส้นเท้า ตาตุ่ม

วิธีป้องกันการเกิดแผลกดทับ

ให้หมั่นสังเกตดูว่าผิวหนังของผู้ป่วยเริ่มมีรอยแดงหรือไม่ เพราะหากผิวเปลี่ยนสีแดงแสดงว่ามีอาการเริ่มต้นเป็นแผลกดทับ
การป้องกันแผลกดทับที่ดีนั้น ควรมีการพลิกตัวเปลี่ยนท่าผู้ป่วยบ่อยๆ ใช้เตียงลม หรือเบาะรองนุ่มๆ เพื่อลดแรงกดทับ รักษาผิวหนังให้แห้ง และสะอาดเสมอ



                  การใช้เตียงลม หรือเบาะรองนุ่มๆ ช่วยลดแรงกด และป้องกันการเกิดแผลกดทับ

การรักษาแผลกดทับ

ที่สำคัญควรให้ผู้ป่วยไปพบแพทย์ เพื่อตรวจเช็คแผล เพราะในบางกรณี ผู้ป่วยอาจต้องการการรักษาเพิ่มเติม หากมีอาการรุนแรงหรือติดเชื้อ แต่โดยหลักแล้วการรักษาแผลกดทับจะเป็นไปตามวิธีการนี้

-   ลดแรงกดทับบริเวณแผล เช่นไม่นอนทับตรงบริเวณแผล หรือใช้เบาะนุ่มๆ หรือเตียงลม

-   ทำแผลและรักษาแผลให้สะอาด

-   ปกป้องบริเวณแผล โดยใช้ผ้าก็อซปิดแผลไว้

-   หากแผลใหญ่มาก แพทย์อาจพิจารณาใช้การผ่าตัดรักษาเข้าช่วย

-   หากมีการติดเชื้อแพทย์จะพิจารณาใช้ยาฆ่าเชื้อรักษา

-   ทานอาหารที่มีประโยชน์ มีโปรตีน สารอาหารและพลังงาน เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ทำให้แผลกดทับหายเร็ว



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น