แม่บ้าน/พี่เลี้ยงเด็ก/ดูแลผู้สูงอายุ/พยาบาลเฝ้าไข้

บริการ-จัดส่ง พนักงาน แม่บ้าน อายุตั้งแต่ 20-45 ปี

บริการ-พี่เลี้ยงเด็ก แรกเกิด-เด็กโต โดยพนักงานที่มีประสบการณ์และผ่านการอบรมจาก พยาบาลวิชาชีพ

บริการ-ดูแลผู้สูงอายุ อยู่เป็นเพื่อน คนชรา อาบน้ำเช็ดตัว จัดยาหาอาหาร พยุงเข้าห้องน้ำ ทำกายภาพบำบัด ให้อาหารทางสายยาง ดูดเสมหะ อัมพฤกษ์ อัมพาต ด้วยพนักงานที่มีประสบการณ์มากกว่า 7 ปี

ไม่มีพนักงานเปลี่ยนภายใน 3 วัน ยินดีคืนเงิน บริการ 24 ช.ม. มีทั้งหมด 3 สาขา จดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด ทะเบียนเลขที่ 0108134705023 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2547



สนใจติดต่อได้ที่ 02-4823868 สายด่วน 086-4050017 (ตลอด 24 ช.ม)

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนหรือโรคกระดูกบาง เป็นโรคที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกน้อยลง ส่งผลให้กระดูกไม่แข็งแรง มีโอกาสหักง่ายกว่าคนทั่วไป โดยตำแหน่งที่กระดูกมักจะหัก ได้แก่ สะโพก , กระดูกสันหลัง และ กระดูกข้อมือ

                                ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกต่ำ หักง่าย
                                 ภาพซ้าย: เป็นกระดูกปกติ     ภาพขวา: เป็นกระดูกที่พรุน บาง

อาการและอาการแสดง

ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกบาง มักจะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ยกเว้น เมื่อมีอาการหักของกระดูก ก็จะมีอาการเจ็บปวดบริเวณที่มีกระดูกหัก

ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเกิดโรคกระดูกบางได้แก่ อายุมาก, เพศหญิง, ขาดฮอร์โมนเอสโตเจน, ภาวะหมดประจำเดือน, สูบบุหรี่, ได้รับแคลเซียมและวิตามินซีน้อย, พิษสุราเรื้อรัง และ การที่ออกกำลังกายมากหรือน้อยเกินไป

การวินิจฉัย
ทำได้โดยการวัดความหนาแน่นของกระดูก (bone mineral density)

การรักษา
โรคกระดูกพรุนสามารถป้องกันโดย หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังที่กล่าวมา และป้องกันการหกล้มในผู้ที่มีกระดูกบาง รวมทั้งให้ยาเพื่อเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก


                                                                                                                                                                                     การออกกำลังกาย เช่น การยกน้ำหนัก
ช่วยทำให้กระดูกหนาแน่น และแข็งแรงขึ้น

การรับประทานอาหาร
ผู้ป่วยควรได้รับแคลเซียม 1200 – 1500 มิลลิกรัม ต่อวัน โดยเลือกทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม (นม 1 แก้ว จะให้แคลเซียมประมาณ 300 มิลลิกรัม) หรือทานแคลเซียมเม็ดเสริม

การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายแบบ แอโรบิก, ยกน้ำหนัก สามารถทำให้ความหนาแน่นของกระดูกมากขึ้นได้

บุหรี่ และสุรา
ควรงดสูบบุหรี่ และควบคุมปริมาณการดื่มสุรา

ยา
ปัจจุบันมียาหลายชนิด ที่ให้ควบคู่ไปกับการให้แคลเซียม และ วิตามินซีเพื่อทำให้กระดูกมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น