แม่บ้าน/พี่เลี้ยงเด็ก/ดูแลผู้สูงอายุ/พยาบาลเฝ้าไข้

บริการ-จัดส่ง พนักงาน แม่บ้าน อายุตั้งแต่ 20-45 ปี

บริการ-พี่เลี้ยงเด็ก แรกเกิด-เด็กโต โดยพนักงานที่มีประสบการณ์และผ่านการอบรมจาก พยาบาลวิชาชีพ

บริการ-ดูแลผู้สูงอายุ อยู่เป็นเพื่อน คนชรา อาบน้ำเช็ดตัว จัดยาหาอาหาร พยุงเข้าห้องน้ำ ทำกายภาพบำบัด ให้อาหารทางสายยาง ดูดเสมหะ อัมพฤกษ์ อัมพาต ด้วยพนักงานที่มีประสบการณ์มากกว่า 7 ปี

ไม่มีพนักงานเปลี่ยนภายใน 3 วัน ยินดีคืนเงิน บริการ 24 ช.ม. มีทั้งหมด 3 สาขา จดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด ทะเบียนเลขที่ 0108134705023 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2547



สนใจติดต่อได้ที่ 02-4823868 สายด่วน 086-4050017 (ตลอด 24 ช.ม)

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ความเครียดในผู้เฝ้าไข้

ผู้ดูแลผู้สูงอายุทำหน้าที่อะไรบ้าง?
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ บางที จะเป็นญาติใกล้ชิดผู้ป่วย หรือ เป็นผู้ช่วยพยาบาล หรือพนักงานเฝ้าไข้ ซึ่งจะมีหน้าที่ เฝ้าไข้ คอยดูแลอยู่กับผู้ป่วย คอยปรนนิบัติ ดูแลพยาบาลในกิจวัตรประจำวันพื้นฐานต่างๆของผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ ที่มีโรคประจำตัว หรือโรคเรื้อรังต่างๆ อาทิเช่นโรคมะเร็ง อัมพฤกษ์ อัมพาต อ่อนแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ หรืออ่อนแรงของร่างกายครึ่งซีก โรคเบาหวาน สมองเสื่อม หลงลืม หรือ อัลไซเมอร์
หน้าที่หลักๆของผู้ช่วยพยาบาลดูแลผู้สูงอายุ มีดังนี้:
•   ยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
•   พลิกตัวผู้ป่วย
•   อาบน้ำ ดูแลความสะอาดของร่างกาย
•   ช่วยแต่งตัวให้ผู้ป่วย และดูแลความสะอาดเครื่องแต่งกาย
•   ป้อนอาหาร หรือให้อาหารทางสายยาง กับผู้ป่วย
•   เตรียมอาหาร ปรุงอาหารให้กับผู้ป่วย
•   ช่วยเป็นธุระจัดซื้อของ หากผู้ป่วยต้องการซื้อหาข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ
•   ช่วยผู้ป่วยนำเงินไปชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วย
•   เป็นธุระ หรือช่วยผู้ป่วย,ผู้สูงอายุ ปฏิบัติภาระกิจต่างๆ
•   จัดเตรียม และให้ยากับผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ
•   อยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ
•   ให้กำลังใจ และทำให้ผู้ป่วยเบิกบาน
 
                   ผู้ช่วยพยาบาล หรือผู้ดูแลผู้ป่วย จะมีหน้าที่ดูแลกิจวัตรประจำวันต่างๆให้ผู้ป่วย

ทำไมงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุ, ผู้ช่วยพยาบาลเป็นงานที่หนัก?

ผู้ป่วย หรือผู้สูงวัยเป้นผู้ที่เจ็บป่วย จะไม่ค่อยรับรู้ในสิ่งต่างๆ ดังนั้นท่านเหล่านี้หลายครั้งไม่ค่อยร่วมมือในการดูแลรักษา ทำให้ยากแก่การปรนนิบัตร ในหลายโอกาส ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุนี้ อาจจะมีบุคคลิกภาพที่แปรเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนก่อนที่จะเจ็บป่วย โดยเฉพาะหากผู้ป่วยท่านนั้นป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม ทำให้ญาติที่ดูแลผู้ป่วยบางครั้งรู้สึกตึงเครียดไปกับความเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย

บางครั้งผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุที่เราดูแล อาจจะมีอารมณ์แปรปรวน หรือก้าวร้าวได้ บางครั้งอาจตะโกน ด่าทอ หรือทำร้ายผู้ดูแล ทำให้ผู้แลเกิดความเครียด

อาการที่แสดงว่าผู้เฝ้าไข้เกิดความเครียดจากงาน

Common signs of caregiver stress include the following:
•   หงุดหงิดง่าย ดูไม่มีความสุข หรือเบื่อหน่ายกับชีวิต
•   ร้องไห้เก่งขึ้น
•   ขาดความกระตือรือร้น ไม่ค่อยมีพลังหรือแรงกระตุ้นในการทำงาน
•   รู้สึกไม่มีเวลาให้กับตนเองพอ
•   นอนหลับยากขึ้น และพอต่นขึ้นก็ไม่อยากลุกออกจากเตียง
•   มีปัญหาด้านการทาน อาจทานมาก หรือน้อยกว่าปกติที่เคยเป็น
•   ไม่ค่อยออกไปเจอญาติมิตร เพื่อนฝูง
•   ไม่ค่อยสนใจในงานอดิเรก หรือกิจกรรมที่ตนเองเคยสนใจทำ หรือเข้าร่วม
•   รู้สึกโกรธผู้ที่เราดูแล, คนหรือสภาวะการณ์ รอบข้าง
นอกจากนี้แล้ว งานของผู้ช่วยพยาบาลเป็นงานที่หนัก และในหลายครั้งผู้ช่วยพยาบาลก็อาจจะไม่ได้รับคำขอบคุณ หรือชมเชยจากผู้ป่วย หรือคนรอบข้าง ทำให้ขาดกำลังใจได้

                                ผู้ดูแลผู้ป่วย หรือผู้ช่วยพยาบาล ต้องดูแลรักษาตนเองให้ดี
                                       จะได้มีพลัง หรือมีกำลังใจ ไปดูแลผู้อื่นได้อย่างดี


ข้อพึงปฏิบัติหากทราบว่าเรามีความเครียดจากงาน หรือการเฝ้าไข้

จริงๆแล้วความรู้สึกเครียดกับงานเฝ้าไข้นี้สามารถเกิดได้ เพราะงานเฝ้าไข้ หรืองานดูแลผู้ป่วยเป็นงานที่สามารถก่อให้เกิดความเครียดได้ง่าย ซึ่งหากท่านไม่ลองมาทำงานนี้เอง ก็จะไม่ทราบว่างานเฝ้าไข้ หรือดูแลผู้ป่วยนี้เป็นงานที่ต้องเสียสละและอดทนอย่างสูง หากเราไม่ดูแลรักษาตัวเราให้ดี เราก็ไม่สามารถมีกำลังกาย กำลังใจที่จะไปดูแลผู้อื่นได้

ดังนั้นหากท่านมีความเครียดที่เกิดจากงานเฝ้าไข้ หรือดูแลผู้ป่วยนี้ ท่านน่าจะไปปรึกษากับแพทย์, ญาติมิตร หรือเพื่อนฝูงที่ท่านไว้ใจ และขอความช่วยเหลือให้มาช่วยท่านผ่อนเบาภาระการดูแลผู้ป่วยบ้าง และอย่ารู้สึกไม่ดีหรือรู้สึกว่าตนเองไร้ความสามารถ ที่ท่านต้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น

นอกจากนี้แล้วท่านอาจจะลองสำรวจว่าแถวชุมชนของท่านมีโครงการ หรือบริการใดๆ ที่จัดเตรียมไว้สำหรับบริการผู้สูงอายุในรูปแบบใด ที่ท่านและผู้สูงอายุจะมาร่วมใช้บริการได้

หลักการเลือกสถานพยาบาลเพื่อดูแลผู้สูงอายุ

สถานที่ดูแลผู้สูงอายุ อาจจะมีเรียกชื่อเรียกต่างๆกัน
สถานที่ที่มีความพร้อมในด้านการรักษาพยาบาล ก็จะใช้คำเรียกว่า โรงพยาบาล โรงพยาบาลผู้สูงอายุ หรือสถานพยาบาลผู้สูงอายุ
ส่วนสถานที่ดูแลผู้สูงอายุที่ไม่เน้นการรักษาพยาบาล และการทำกายภาพบำบัด อาจเรียกเป็น ศูนย์ดูแลสูงอายุ สถานพักฟื้นผู้สูงอายุ ที่พักผู้สูงอายุ ที่พักคนชรา หรือบ้านพักคนชรา
ปัจจัยที่ควรคำนึง
ไม่ว่าเราจะเลือกสถานที่ที่ให้การดูแล กับผู้ที่เราเคารพรักแบบใดๆ ย่อมต้องใช้ความละเอียด พิถีพิถัน และใส่ใจเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ผู้สูงอายุมีชีวิตบั้นปลายที่เป็นสุขสงบ

                                         การเลือกสถานที่ดูแลผู้สูงอายุให้ถูกต้อง เหมาะสม
                                  มีความสำคัญยิ่งต่อคุณภาพชีวิต และความสุขของผู้สูงอายุ

หลักการในการเลือกสถานที่ดูแลผู้สูงอายุมีดังต่อไปนี้

ที่ตั้ง
ควรตั้งอยู่ในที่ที่เดินทางไปเยี่ยมได้สะดวก บางท่านอาจคิดว่า ควรให้ผู้สูงอายุพักอยู่ที่ต่างจังหวัดไกลๆ เพราะอากาศดี อันนี้ขอให้ท่านคำนึงถึง ความสะดวกในการเดินทางด้วย เพราะท่านอาจไปเยี่ยมเยียนท่านผู้สูงอายุได้ยากขึ้น
สำหรับท่านที่อยู่ในกรุงเทพอาจต้องคัดเลือกสถานที่สักหน่อย เพราะบางครั้งอาจจะมีปัญหาด้านการจราจร หรือเดินทางเข้าเยี่ยมลำบาก เพราะสถานที่ตั้งอยู่ในซอยลึก ดังนั้นเราควรเลือกที่ใกล้บ้าน หรือตั้งใกล้กับรถไฟฟ้า ทางด่วน หรือรถประจำทางเข้าถึงสะดวก
 
การดูแลรักษาพิเศษ

เมื่อสูงวัยขึ้น ผู้สูงอายุหลายท่านมักเริ่มมีปัญหาด้านสุขภาพมากขึ้น การดูแลก็จะซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นสถานที่ที่เหมาะสมกับผู้ที่ท่านรัก ควรจะต้องมีความพร้อม อาทิเช่น มีศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูหรือศูนย์กายภาพบำบัด มีเครื่องช่วยชีวิต หรือเครื่องช่วยหายใจ หรือมีหน่วยการดูแลผู้ป่วยทางจิตเวชเพื่อรองรับผู้ป่วยที่อาจมีความสับสน หรือก้าวร้าว
และที่สำคัญควรมีคณะแพทย์มาร่วมในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง

                                การพาผู้สูงอายุออกไปท่องเที่ยวนอกสถานที่ เป็นกิจกรรมที่
                              สร้างความหลากหลาย และช่วยกระตุ้นผู้สูงอายุได้ดีอย่างหนึ่ง  

บริการอื่นๆที่จัดให้

เนื่องจากผู้สูงวัย มักใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเป็นระยะเวลายาว ดังนั้นน่าจะมีการจัดเตรียมบริการพิเศษต่างๆ เพื่อเพิ่มความสุขให้กับท่าน อาทิเช่น กิจกรรมทางศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม การท่องเที่ยว หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่ผู้สูงอายุสนใจ หรือแม้แต่การจัดเตรียมอาหารพิเศษ ที่ผู้สูงวัยต้องการ
นอกจากนี้หากเจ้าหน้าที่หรือเพื่อนๆของผู้สูงวัย สามารถพูดภาษาของ ผู้มารับการบริการได้ จะช่วยทำให้บริการตรงใจผู้มารับบริการมากขึ้น

สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวก

ก่อนอื่นท่านต้องตรวจสอบว่า สถานบริการผู้สูงอายุนี้ได้รับการจดทะเบียน มีใบอนุญาตอย่างถูกกฏหมายหรือไม่ เพราะสถานพยาบาลที่ไม่ถูกกฏหมาย การบริการมักไม่ได้มาตรฐาน สถานที่ต้องสะอาด และมีการบำรุงรักษาสถานที่อย่างดี ไม่มีกลิ่น ผู้สูงอายุแต่งกายดี สะอาดสะอ้าน มีที่จัดสันทนาการรวมให้ผู้สูงอายุ และมีเนื้อที่ให้ผู้สูงอายุเก็บข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว

เจ้าหน้าที่

เจ้าหน้าที่ควรแต่งกายเรียบร้อย ดูสุภาพ เป็นมิตร และได้รับการอบรมก่อนปฏิบัติงาน เพราะการดูแลผู้สูงอายุต้องใช้ทักษะ และความสามารถหลากหลาย
อีกทั้งเจ้าหน้าที่ควรได้รับการฝึกฝน ให้มีความสามารถในแก้ไขปัญหาต่างๆของผู้สูงอายุ ได้อย่างลุล่วง อาทิเช่น ปัญหาความก้าวร้าวและขาดเหตุผลที่พบได้ในผู้สูงวัยบางท่าน
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่จะต้องรับการฝึกอบรมให้เคารพผู้สูงอายุ และบริการผู้สูงอายุด้วยความเต็มใจและสุภาพ

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

โรคไตวายเรื้อรัง

ไตเป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายถั่ว ขนาดเท่ากับกำปั้นมือ มีอยู่ 2 ข้าง ตั้งอยู่ที่หลัง ข้างกระดูกไขสันหลัง ทั้ง 2 ข้าง ไตทำหน้าที่ขับน้ำและของเสียจากเลือดออกนอกร่างกาย
โรคไตวาย เกิดจากการที่ไตไม่สามารถขับน้ำเกลื่อแร่ และของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ร่างกายเสียสมดุลย์
                  
                             
                                                                                                                                                                           มีรูปร่างคล้ายเม็ดถั่ว แต่ละข้างหนักราว 150 กรัม

การดำเนินโรค

โรคไตวายนี้มักจะมีการดำเนินโรคมักจะเป็นไปอย่างช้าๆ โดยโรคที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไตวายที่พบบ่อยที่สุดได้แก่ โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง

อาการ

ในช่วงแรกของการเกิดโรค ผู้ป่วยอาจจะไม่มีอาการ ต่อมาผู้ป่วยอาจจะมีอาการคลื่นไส้ อ่อนเพลีย ปวดศรีษะ สะอึกบ่อยๆ คันทั่วร่างกาย เมื่ออาการเป็นมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการเลือดออกง่าย ซีด บวม ซึมลงจนหมดสติและชัก และเสียชีวิตในที่สุดได้
 
การรักษา

การรักษาเน้นไปที่การควบคุมป้องกันไม่ให้ไตเสียเร็ว ผู้ป่วยควรจำกัดอาหารบางอย่าง เช่น อาหารเค็ม ผลไม้ และอาหารที่มีโปรตีนสูง ถ้าความดันโลหิตสูงต้องควบคุมให้ดี ยาจะช่วยลดอาการได้บ้าง แต่ไม่มียาอะไรที่จะขับของเสียออกจากร่างกายได้
วิธีที่จะขับของเสียและน้ำออกจากร่างกายได้ คือ การล้างไต หรือเปลี่ยนถ่ายไต
             โรคไต ควรจำกัดอาหารที่เค็ม หรือมีโปแตสเซียมสูง เช่น กล้วย มะเขือเทศ ฯลฯ
 

อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

จำกัดอาหารโปรตีน: ปกติแล้วไตจะขับถ่ายยูเรีย ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจาก การเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีน ในผู้ป่วยไตวาย ไตจะไม่สามารถขับยูเรียออกได้เท่าคนปกติ ดังนั้นจึงควรจำกัดอาหารโปรตีน เพื่อไม่ให้ยูเรียคั่งในร่างกาย
 
จำกัดปริมาณเกลือ: ไม่ควรทานอาหารรสเค็ม ทานเกลือได้ไม่เกิน 4-6 กรัม/วัน เพื่อป้องกันไม่ให้มีของเหลวคั่งในร่างกาย หรือบวม เพราะจะทำให้การควบคุมความดันโลหิตเป็นไปได้ยาก

จำกัดปริมาณน้ำดื่ม: ผู้ป่วยโรคไตวาย จะมีปัญหาด้านการขับน้ำออกจากร่างกายดังนั้นจำเป็นที่จะต้องจำกัดปริมาณน้ำ

จำกัดปริมาณโปแตสเซี่ยม: ผู้ป่วยโรคไตวาย จะขับโปแตสเซี่ยมออกได้ไม่ใคร่ดี และหากมีโปแตสเซียมในร่างกายมากไป จะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงกับชีวิต อาหารมีปริมาณโปแตสเซียมสูง และควรพึงระวังคือ กล้วย ส้ม ถั่ว และมันฝรั่ง

จำกัดปริมาณฟอสฟอรัส: ผู้ป่วยโรคไต จะขับฟอสฟอรัสได้น้อย ดังนั้นระดับฟอสฟอรัสในเลือดจะสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการสูญเสียแคลเซียมในกระดูก เกิดกระดูกผุบางได้ อาหารที่มีปริมาณฟอสฟอรัสมากคือ ไข่ ถั่ว นม น้ำอัดลม

เบาหวาน

เบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง   เกิดจากร่างกายผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอ หรือไม่สามารถนำอินซูลินที่ผลิตมาไปใช้ได้
ปกติอินซูลินจะช่วยเปลี่ยนน้ำตาลจากอาหารที่เราทาน ไปเก็บไว้เป็นพลังงาน ในเซลล์ต่างๆของร่างกาย หากร่างกายมีอินซูลินไม่พอ หรือไม่สามารถใช้อินซูลินได้ ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะสูง
หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานๆ จะก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆตามมาได้แก่ โรคไต, จอประสาทตาเสื่อม และโรคหลอดเลือดอื่นๆ
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยอาจจะมาพบแพทย์ ด้วยอาการ ปัสสาวะบ่อย, กินน้ำบ่อย, กินอาหารจุและน้ำหนักลด ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการใดๆ แต่ตรวจพบจาก การเจาะเลือดตรวจร่างกาย


                              การวินิจฉัยโรคเบาหวาน โดยการตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือด
 

การวินิจฉัยโรค

วินิจฉัยโดยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
ในผู้ป่วยที่อดอาหารและตรวจพบระดับน้ำตาลที่สูงกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เป็นเวลา 2 ครั้ง
หรือเจาะน้ำตาลที่เวลาใดเวลาหนึ่งโดยไม่ต้องอดอาหาร สูงกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ก็ถือว่าเป็นโรคเบาหวานเช่นเดียวกัน

ชนิดของโรคเบาหวาน

เบาหวานชนิดที่ 1  มักเกิดตั้งแต่อายุยังน้อย ๆ เป็นเพราะร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ จึงจำเป็นต้องให้การรักษาด้วยอินสุลินแบบฉีด

เบาหวานชนิดที่ 2  โรคเบาหวานที่เราเจอ มักจะเป็นชนิดที่2 มักเจอในผู้ใหญ่ เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ หรือร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ปัจจุบันเราพบโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากขึ้น เพราะมีประชากรสูงอายุมากขึ้น และมีจำนวนคนที่อ้วน และไม่ใคร่ได้ออกกำลังกายมากขึ้น

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะเบาหวานชนิดนี้ จะเกิดในผู้ที่ปกติแล้วระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่ได้ป่วยเป็นเบาหวาน แต่จะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงในระหว่างการตั้งครรภ์เท่านั้น


                                                การรับประทานผักและผลไม้สด จะช่วยควบคุม
                                                     ระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวาน
 
การรักษาโรค

จุดประสงค์ของการรักษาโรคเบาหวาน ไม่เพียงแต่ควบคุมน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเท่านั้น แต่ยังต้องเฝ้าระวังไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆด้วย
โดยการรักษาจะใช้ยา ซึ่งอาจจะเป็นยากิน และยาฉีด(อินซูลิน) ร่วมกัน
การปฎิบัติตัวให้ผู้ป่วยเบาหวาน

อาหาร   ควรทานผักให้มาก โดยเฉพาะผักประเภทใบ และถั่วสด เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง ถั่วแขก ถั่วฝักยาว ฯลฯ เลือกทานทานผลไม้ที่หวานน้อย เช่น ส้ม มะละกอ พุทรา ฝรั่ง งดของหวานทุกชนิด และขนมที่ใส่น้ำตาล หลีกเลี่ยงอาหารทอดที่มีน้ำมันมาก

การออกกำลังกาย   จะช่วยควบคุมน้ำหนัก, ลดระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ซึ่งเป็นโรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากนี้การออกกำลังกาย ก็ช่วยทำให้จิตใจเบิกบานสดชื่นได้อีกด้วย

งดสูบบุหรี่   ปกติแล้วผู้ป่วยเบาหวาน จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่นโรคหัวใจ อัมพาต อัมพฤกษ์ โรคไตวายเรื้อรัง โรคทางระบบประสาท ฯลฯ มากกว่าคนปกติ การสูบบุหรี่จะยิ่งเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนดังกล่าว

ความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบบ่อย และเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคสมอง โรคไต และโรคทางหลอดเลือด เป็นต้น
ดังนั้นการรักษาและป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงนี้ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

                                     หมั่นตรวจเช็คความดันโลหิต หากผิดปกติให้ปรึกษาแพทย์

การวินิจฉัยโรค

ความดันโลหิตปกติ หมายถึง ความดันอยู่ในช่วง 120/80 mmHg
ความดันโลหิตเริ่มสูง หมายถึง ความดันอยู่ในช่วง 120-139/80-99 mmHg
ความดันโลหิตสูง หมายถึง ความดันที่สูงกว่า 139/90 mmHg
ทั้งนี้การวัดความดันโลหิต ควรทำการวัดอย่างน้อย 2 ครั้ง ในระยะเวลาที่ต่างกัน
 
ความชุกของโรค

พบผู้ใหญ่เป็นโรคนี้ประมาณ 20% โดยเฉพาะในผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี จะมีโอกาสเกิดโรคนี้สูงมาก
สาเหตุของโรค
ประมาณ 90-95 % ของผู้ป่วย ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด มีผู้ป่วยบางกลุ่ม ที่มีสาเหตุมาจากโรคอื่นๆ เช่น โรคไต, โรคหลอดเลือด, โรคทางต่อมไร้ท่อ เป็นต้น

การรักษา

ผู้ป่วยควรจะดูแลสุขภาพของตนเองร่วมกับรักษาด้วยยา
โดยมีข้อแนะนำดังนี้
  1. 1. กรณีที่ผู้ป่วยอ้วนควรลดน้ำหนัก
  2. 2. ลดการดื่มแอลกอฮอล์
  3. 3. ออกกำลังกายเป็นประจำ
  4. 4. ไม่รับประทานอาหารเค็ม
  5. 5. ไม่สูบบุหรี่
  6. 6. ลดการกินอาหารมัน
  7. 7. หลีกเลี่ยงความเครียด

เข่าเสื่อม


โรคข้อเข่าเสือมเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ ด้วยอาการปวดเข่า
อาการ
ในช่วงแรกอาการปวดอาจจะดีขึ้นเมื่อผู้ป่วยพักการทำงาน หรือกินยาแก้ปวดทั่วไป และผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการข้อแข็งในช่วงเช้าๆ
ต่อมาเมื่อโรคเป็นมากขึ้น อาการของโรคก็จะแสดงออกชัดขึ้น โดยอาการปวดจะเป็นรุนแรง และไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาแก้ปวดทั่วไป หรืออาจจะมีรูปร่างของข้อที่ผิดรูป (เข่าโก่ง)
เมื่อตรวจร่างกายบริเวณข้อที่ปวด อาจจะไม่พบอาการปวดบวม แดง ร้อน แต่อาจพบว่า การเคลื่อนที่ของข้อลดลงและอาจมีกล้ามเนื้อลีบร่วมด้วย

                                         ภาพซ้ายแสดงถึงข้อเข่าเสื่อม กระดูกอ่อนเริ่มสึกหรอ
                                          ผิวข้อไม่เรียบ ข้อเคลื่อนไหวติดขัด ฝืด มีเสียงคล้าย
                                              กระดาษทรายถูกัน   ภาพขวาเป็นข้อเข่าที่ปกติ

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค ได้แก่ ผู้สูงอายุ, อ้วน, ผู้หญิง, ผู้ที่มีประวัติการทำงานที่ใช้ข้อมากๆ และผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคข้อเสื่อม
 
การรักษา

ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาการใช้ยา นอกจากนั้นผู้ป่วยควรดูแลสุขภาพตนเอง โดยในกรณีที่ผู้ป่วยอ้วน ควรลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย ทำกายภาพบำบัด ลดการใช้ข้อที่มีอาการอักเสบ

ปรับวิถีการดำเนินชีวิตใหม่  เพื่อให้อาการปวดทุเลา เช่นการปรับตัวในเรื่องการงอเข่า หลีกเลี่ยงการนั่งยอง ๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาส นั่งคุกเข่า ลดระยะทางการเดิน ไม่นั่งหรือยืนอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ และการใช้ไม้เท้าช่วยในการเดิน

การทำกายภาพบำบัด   เป็นวิธีการรักษาที่มีประโยชน์มาก เพราะช่วยให้กล้ามเนื้อที่คอยพยุงข้อแข็งแรงมากขึ้น ทำให้ช่วยปกป้องข้อไม่ให้ผิดท่าหรือทำงานหนักเกินไป

การรักษาด้วยยา   ในกรณีที่อาการปวดไม่รุนแรงอาจใช้ยาแก้ปวดทั่วๆ ไป ได้แก่ พาราเซตามอล แต่ถ้าอาการปวดรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาเรื่องการใช้ยาเป็นกรณี

การผ่าตัด   ใช้ในกรณีที่รักษาด้วยยาและกายภาพบำบัดแล้ว อาการไม่ดีขึ้น
 

โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนหรือโรคกระดูกบาง เป็นโรคที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกน้อยลง ส่งผลให้กระดูกไม่แข็งแรง มีโอกาสหักง่ายกว่าคนทั่วไป โดยตำแหน่งที่กระดูกมักจะหัก ได้แก่ สะโพก , กระดูกสันหลัง และ กระดูกข้อมือ

                                ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกต่ำ หักง่าย
                                 ภาพซ้าย: เป็นกระดูกปกติ     ภาพขวา: เป็นกระดูกที่พรุน บาง

อาการและอาการแสดง

ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกบาง มักจะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ยกเว้น เมื่อมีอาการหักของกระดูก ก็จะมีอาการเจ็บปวดบริเวณที่มีกระดูกหัก

ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเกิดโรคกระดูกบางได้แก่ อายุมาก, เพศหญิง, ขาดฮอร์โมนเอสโตเจน, ภาวะหมดประจำเดือน, สูบบุหรี่, ได้รับแคลเซียมและวิตามินซีน้อย, พิษสุราเรื้อรัง และ การที่ออกกำลังกายมากหรือน้อยเกินไป

การวินิจฉัย
ทำได้โดยการวัดความหนาแน่นของกระดูก (bone mineral density)

การรักษา
โรคกระดูกพรุนสามารถป้องกันโดย หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังที่กล่าวมา และป้องกันการหกล้มในผู้ที่มีกระดูกบาง รวมทั้งให้ยาเพื่อเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก


                                                                                                                                                                                     การออกกำลังกาย เช่น การยกน้ำหนัก
ช่วยทำให้กระดูกหนาแน่น และแข็งแรงขึ้น

การรับประทานอาหาร
ผู้ป่วยควรได้รับแคลเซียม 1200 – 1500 มิลลิกรัม ต่อวัน โดยเลือกทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม (นม 1 แก้ว จะให้แคลเซียมประมาณ 300 มิลลิกรัม) หรือทานแคลเซียมเม็ดเสริม

การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายแบบ แอโรบิก, ยกน้ำหนัก สามารถทำให้ความหนาแน่นของกระดูกมากขึ้นได้

บุหรี่ และสุรา
ควรงดสูบบุหรี่ และควบคุมปริมาณการดื่มสุรา

ยา
ปัจจุบันมียาหลายชนิด ที่ให้ควบคู่ไปกับการให้แคลเซียม และ วิตามินซีเพื่อทำให้กระดูกมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น